วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

บทความวิชาการ

http://www.siamchemi.com/%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%B5/

1. สูตรโมเลกุล (molecular formulas) คือ สูตรเคมีที่แสดงถึงสัญลักษณ์ของธาตุ และจำนวนอะตอมของธาตุที่เป็นองค์ประกอบของสารนั้นใน 1 โมเลกุล เช่น
H2O (น้ำ) จำนวน 1 โมเลกุล ประกอบด้วย H 2 อะตอม และ O 1 อะตอม
CCl4 (คาร์บอนเตรตะคลอไรด์) จำนวน 1 โมเลกุล ประกอบด้วย C 1 อะตอม และ Cl 4 อะตอม
C6H12O6 (น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว) จำนวน 1 โมเลกุล ประกอบด้วย C 6 อะตอม, H 12 อะตอม และ O 6 อะตอม
H2SO4 (กรดซัลฟูริก) จำนวน 1 โมเลกุล ประกอบด้วย H 2 อะตอม, S 1 อะตอม และ O 4 อะตอม
NaCl (เกลือ) จำนวน 1 โมเลกุล ประกอบด้วย Na 1 อะตอม และ Cl 1 อะตอม
2. สูตรอย่างง่าย หรือ สูตรเอมพิริคัล (empirical formulas) คือ สูตรเคมีที่แสดงถึงอัตราส่วนอย่างต่ำของจำนวนอะตอมของธาตุที่เป็นองค์ประกอบ นิยมใช้เขียนแสดงสูตรของสารประกอบไอออนิกที่ไม่มีสูตรโมเลกุลที่แน่นอน เช่น
H2O2 สูตรอย่างง่ายคือ HO
C6H12O6 สูตรอย่างง่ายคือ CH2O
C4H10 สูตรอย่างง่ายคือ C2H5
C2H2 สูตรอย่างง่ายคือ CH
3. สูตรโครงสร้าง (structural formulas) คือ สูตรเคมีที่แสดงถึงองค์ประกอบของธาตุ และจำนวนอะตอมของธาตุที่มีการจัดเรียงตัวในลักษณะต่างๆ สามารถเขียนได้ 2 แบบ คือ
3.1 สูตรโครงสร้างในระนาบ 2 มิติ แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
– สูตรโครงสร้างแบบเส้น (dash formulas) เป็นสูตรโครงสร้างที่ใช้วิธีการเขียนเส้นตรงแทนอิเล็กตรอนจำนวน 1 คู่  เช่น
น้ำตาลกลูโคส
กลูโคส
เบนซีน
เบนซีน
คีโตน และอัลดีไฮด์
คีโตน-อัลดีไฮด์
เอทิลแอลกอฮอล์
ethanol
– สูตรโครงสร้างแบบจุดอิเล็กตรอน (electron-dot formulas) หรือ สูตรลิวอิส ที่เสนอโดยลิวอิส (G. N. Lewis) โดยการเขียนจุด (.) ที่หมายถึงจำนวน 1 อิเล็กตรอน ไว้รอบข้างสัญลักษณ์ของธาตุในโมเลกุลนั้น เช่น
สูตรโครงสร้างแบบจุด
3.2 สูตรโครงสร้างในปริภูมิ 3 มิติ
เช่น สูตรโครงสร้างของเอทิลแอลกอฮอล์จากแบบเส้นเป็นแบบ 3 มิติ
ethanol

การคำณวนสูตรเอมพิริคัล และสูตรโมเลกุล

สูตรเอมพิริคัลหรือสูตรอย่างง่าย เป็นสูตรเคมีที่แสดงถึงอัตราส่วนอะตอมอย่างต่ำของแต่ละธาตุที่เป็นองค์ประกอบในโมเลกุล เช่น ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O2) มีอัตราส่วนอะตอมอย่างต่ำของธาตุ H และ O เป็น 1:1 เขียนเป็นสูตรเอมพิริคัล คือ HO ซึ่งมีหลักในการหาสูตร คือ
– ต้องทราบชนิดธาตุที่เป็นองค์ประกอบสารนั้นๆ
– ต้องทราบมวลอะตอมของแต่ละธาตุที่เป็นองค์ประกอบ
– ต้องทราบมวลของแต่ละธาตุที่เป็นองค์ประกอบ
– คำนวณหาสูตรเอมพิริคัลจากอัตราส่วนโดยโมล ด้วยการนำมวลหารด้วยมวลอะตอมของแต่ละธาตุ
– การปัดจุดทศนิยมจากการหาร หากเป็นจุดทศนิยม 0.1-0.2 ให้ปัดทิ้ง หากเป็นจุดทศนิยม 0.8-0.9 ให้ปัดเพิ่มขึ้น 1 หากตัวเลขมีค่า 0.0-0.7 ให้นำตัวเลขที่มีค่าน้อยที่สุดมาคูณกับอัตราส่วนโดยโมลให้มีค่าใกล้เคียงกับจุดที่จะปัดเสียก่อน
2. สูตรโมเลกุล เป็นสูตรเคมีที่แสดงถึงสัญลักษณ์ของธาตุ และจำนวนอะตอมของธาตุที่เป็นองค์ประกอบของสารนั้นใน 1 โมเลกุล เช่น ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O2) 1 โมเลกุล ประกอบด้วย H 2 อะตอม และ O 2 อะตอม มีหลักการหาสูตร คือ
– ต้องทราบสูตรเอมพิริคัล
– ต้องทราบจำนวนมวลโมเลกุลของแต่ละธาตุ
– หาค่า n โดยใช้สูตร
(มวลจากสูตรเอมพิริคัล) x n = มวลโมเลกุล
โดยที่ n = เลขจำนวนเต็มบวก เช่น 1, 2, 3, …
– การปัดจุดทศนิยม หากตัวเลขทศนิยมมีค่าตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป ให้ปัดเป็น 1 หากตัวเลขทศนิยมมีค่าน้อยกว่า 0.5 ให้ปัดทิ้ง เช่น 2.5 ให้ปัดเป็น 3.0 ส่วนตัวเลขเป็น 2.4 ให้ปัดลงเป็น 2.0 เป็นต้น

การคำนวณมวลร้อยละจากสูตรเคมี

ร้อยละ หรือ ส่วนใน 100 ส่วน (past per hundred, pph) ด้วยการหาจากสูตรเคมี แบ่งเป็น 3 อย่าง คือ
1. ร้อยละโดยมวล หรือน้ำหนัก (มวล/มวล) หมายถึง ปริมาณมวลของสารตัวถูกละลายที่ละลายในตัวทำละลาย 100 หน่วย โดยมวลเดียวกัน  เช่น หน่วยเป็น มิลลิกรัม (mg), กรัม (g), กิโลกรัม (kg) เป็นต้น ร้อยละโดยมวลคำนวณได้จากสูตร
ร้อยละโดยมวล A = (มวล A/มวลตัวทำละลาย) x 100
ตัวอย่างการคำนวณมวลจากสูตรเคมี
Na2CO3 จำนวน 1 โมล มีมวลโมเลกุล 106 กรัม ที่ประกอบด้วย
Na จำนวน 2 อะตอม มีมวลโมเลกุล 23 = 2 x 23 กรัม เป็น 46 กรัม
C จำนวน 1 อะตอม มีมวลโมเลกุล 12 = 1 x 12 กรัม เป็น 12 กรัม
O จำนวน 3 อะตอม มีมวลโมเลกุล 16 = 3 x 16 กรัม เป็น 48 กรัม
ดังนั้น Na2CO3 จำนวน 1 โมล มีน้ำหนักเท่ากับ 46+12+48 กรัม หรือ 106 กรัม
ตัวอย่างการคำนวณ
สารละลายชนิดหนึ่งเตรียมได้จากการละลาย 10 กรัม ของ Na2SO4.10H2O ในน้ำ 100 กรัม แล้วจะมี Na2SO4 ละลายอยู่กี่เปอร์เซ็นต์โดยมวลของสารละลาย
การคำนวณ
มวลจากสูตรเคมี  Na2SO4.10H2O = 322 กรัม
มวลจากสูตรเคมี  Na2SO4 = 142 กรัม
สาร  Na2SO4.10H2O ที่เติมในน้ำ 10 กรัม จะมี  Na2SO4 = (142x 10) /322 = 4.41 กรัม
ดังนั้น % โดยมวล Na2SO4 = (มวล Na2SO4/(มวล  Na2SO4.10H2O + มวลน้ำ)) x 100
= (4.1/(10 + 100)) x 100
= 4.01% โดยมวล
2. ร้อยละโดยปริมาตร (ปริมาตร/ปริมาตร) หมายถึง ปริมาตรของสารตัวถูกละลายที่ละลายในตัวทำละลาย 100 หน่วย โดยปริมาตรเดียวกัน เช่น หน่วยเป็น ลูกบาศก์เมตร (m3), ลูกบาศก์เซนติเมตร (cm3) เป็นต้น ร้อยละโดยปริมาตรคำนวณได้จากสูตร
ร้อยละโดยปริมาตร A = (ปริมาตร A/ปริมาตรตัวทำละลาย) x 100
ตัวอย่างการคำนวณ
เตรียมสารละลายน้ำส้มสายชูให้เจือจาง โดยเติมสารละลายน้ำส้มสายชูความเข้มข้น 50% จำนวน 200 ซีซี ลงในน้ำ 1000 ซีซี แล้วจะได้สารละลายน้ำส้มสายชูความเข้มข้นกี่เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร
การคำนวณ
c1v1 = c2v2
50 x 200 = c2 x 1200 (ปริมาตรน้ำ 1000+ ปริมาตรสารละลาย 200)
10000 = c2 x 1200
c2 = 10000/1200
c2 = 8.33% โดยปริมาตร
หมายเหตุ
c1 = ความเข้มข้นของสารตั้งต้น
c2 = ความเข้มข้นของผลิตภัณฑ์
v1 = ปริมาตรสารตั้งต้น
v2 = ปริมาตรสารผลิตภัณฑ์
3. ร้อยละโดยมวล/ปริมาตร (มวล/ปริมาตร) หมายถึง ปริมาณมวลของสารตัวถูกละลายที่ละลายในตัวทำละลาย 100 หน่วยปริมาตร ร้อยละโดยมวล/ปริมาตรคำนวณได้จากสูตร
ร้อยละโดยมวล/ปริมาตร A = (มวล A/ปริมาตรตัวทำละลาย) x 100
ตัวอย่างการคำนวณ
เตรียมสารละลายน้ำส้มสายชู โดยใส่แอซิตริก (CH3COOH) จำนวน 10 กรัม ลงในน้ำ 100 ซีซี แล้วจะได้สารละลายน้ำส้มสายชูความเข้มข้นกี่เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร (ความหนาแน่น CH3COOH = 1.2)
การคำนวณ
D = m/v
1.2 = 10/v
v = 10/1.2 = 8.33
ดังนั้น ปริมาตรรวมทั้งหมดเท่ากับ 100+8.33 = 108.33 ซีซี
หาความเข้มข้นโดยปริมาตรได้เท่ากับ (8.33/108.33) x 100 = 7.69 เปอร์เซ็นต์ โดยปริมาตร

บันทึกประจำวันของ นาย อภิสิทธิ์ จันใด

                                      สวัสดีครับผม นาย ภภิสิทธิ์ จันใด จะมาเล่าชีวิตประจำวัน

      เริ่มจากตื่นนอนผมต้องตื่นตั้งแต่ตี 5.30 น. ทำธุระส่วนตัว แล้วรอรถมารับในเวลา 6.30 น. แล้วนั้งรถมา โรงเรียนแต่ก่อนจะมาถึง โรงเรียน ต้องไปรับนักเรียนอีกมากมาย กว่าจะมาถึง โรงเรียน ก็เวลา ประมาณ 7.30 น. ก็มานั้นรอเข้าแถวกับเพื่อนๆ พอเข้าแถวเคารพธงชาติ สวดมนต์ไหว้พระ เสร็จก็เข้าเรียนตามวันนั้นๆ ตลอกการเรียนผมจะมีความสุขมากและบางครั้งก็เหงาแต่ส่วนมาก็จะมีความสุข เรียนกะครูก็สนุกดีมีความสุขเวลาว่างก็จะไปเล่นกะเพื่อนๆจับกลุ่มคุยกันเรื่องนั้นนี้โน้น พักเทียงก็ไปทานข้าวบางครั้งก็ไปมินิมาร์คเพื่อที่จะซื่อมาม่ากะขนมมาทานแล้วก็รอเข้าเรียนตอนภาคบ่าย แล้วก็เรียนๆๆๆๆไปจนถึงเวลา 15.30 น. แล้วผมกะเพื่อนก็จะเดินใน โรงเรียน สักพักแล้วก็ออกไปรอรถที่หน้า โรงเรียน เวลาประมาณ 16.30 รถก้จะมารับ บางครั้งรถก็อาจจะมาก่อนเวลา พอรถมาก็ขึ้นรถ แล้วกลับบ้านตลอกระยะทางบางวันผมก็หลับเพราะเหนื่อยกับการเรียน พอมาถึงบ้านก็จะทำงานบ้าน แล้วทำการบ้าน หาอาหารตอนเย็นทานกับครอบครัว แล้วเข้านอนในเวลา 22.30 น.
      ชีวิตของผมก็จะเป็นแบนี้ทุกๆวันยกเว้นวัน เสาร์ และ อาทิตย์ ช่วงเวลา 2 วันนนี้ จะซักผ้า ทำความสะอาดบ้าน ทำการบ้าน และนอนเล่น ถ้าหากมีอะไรทำก็จะทำ